วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

การใช้อาวุธปืน

การใช้อาวุธปืน

1.ปืนสำหรับล่าสัตว์ปีก

             ปืนลูกซอง ปืนลูกซองเป็นอาวุธปืนที่ใช้ประทับบ่ายิงเช่นเดียวกับปืนไรเฟิล ลำกล้องปืนลูกซองราบเรียบ ไม่มีรอยเกลียวและยิงกระสุนลูกโดดหรือลูกปราย โดยทั่วไปปืนลูกซองใช้กันในเกมกีฬา แข่งขันยิงนกหรือเป้าบิน มากกว่าจะใช้สังหารกัน ระยะกระสุนจากลูกซองถูกจำกัดในระยะสั้น จะหมายผลแน่นอนได้แค่ระยะ 50 เมตรเท่านั้น ปืนลูกซองเดี่ยวจะหักลำนอกที่สามารถบรรจุกระสุนได้ทีละนัด ปืนชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มพรานชาวบ้าน เพราะราคาถูก ส่วนปืนลูกซองแฝดนั้น ตัวปืนจะมีราคาแพงกว่าปืนลูกซองเดี่ยวมาก แต่มีข้อดีที่สามารถบรรจุกระสุนได้ครั้งละสองนัด ทำให้สามารถยิงซ้ำได้เร็วกว่า นอกจากนี้ยังมี ข้อดีที่พรานสามารถบรรจุกระสุนที่ต่างกันในลำกล้องซ้ายขวา ทำให้สามารถเลือกยิงได้แล้วแต่สถานการณ์ กระสุนที่ใช้กับปืนลูกซองก็สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสัตว์ที่ต้องการล่า


2. ปืนสำหรับล่าสัตว์เล็ก

2.1 ปืนลูกกรด
ปืนลูกกรดหรือมาลินคานเหวี่ยง ขนาด .22 ปืนมาลินโมเดิล 39 ขนาด .22 ลองไรเฟิล ได้รับความนิยมในบ้านเราเป็นอย่างมาก ตัวปืนมีข้อเด่น เช่น สามารถบรรจุกระสุนในแม็กกาซีนที่เป็นหลอด อยู่ใต้ลำกล้องได้ถึงสิบแปดนัด สามารถถอดออกเป็นสองท่อนได้อย่างง่ายดาย ทำให้สะดวกต่อการนำพา รุ่นใหม่ดีดปลอกกระสุนออกด้านข้าง ทำให้สามารถติดกล้องเล็งได้ ปืนยาวขนาด .22 นี้นับได้ว่าเป็นปืนอเนกประสงค์ ใช้งานได้หลากหลาย ตั้งแต่เป็นปืนสำหรับฝึกซ้อม ปืนยิงเล่นเวลาไปเที่ยวตามขอบไร่ชายดง แข่งขัน แบบพาดยิง หรือแข่งแบบรณยุทธ และใช้เป็นปืนล่าสัตว์เล็กที่รบกวนพืชไร่ กระสุนที่ใช้กับปืนกระบอกนี้เป็นกระสุน .22 ลองไรเฟิล กระสุนขนาด .22 นั้น เป็นกระสุนขนาดเล็กที่สุดที่มีใช้กันอยู่ในบ้านเรา และเป็นกระสุนที่นิยมแพร่หลายที่สุด เป็นกระสุนที่มีแรงปะทะต่ำ แต่มีความแม่นยำสูง และเสียงไม่ดังมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นปืนหาอาหาร และสัตว์ขนาดเล็ก ในระยะไม่เกิน 75 เมตร
ดังนั้นปืนลูกกรดเป็นปืนสำหรับล่าสัตว์ขนาดเล็ก เพราะเป็นปืนที่มีแรงปะทะต่ำ แม่นยำสูง เสียงไม่ดัง สะท้อนจากการยิงเม่นกับปืนลูกกรด ปืนลูกกรดเป็นปืนหาอาหารประเภทสัตว์เล็ก


3. ปืนสำหรับล่าสัตว์ขนาดกลาง

3.1 วินเชสเตอร์คานเหวี่ยง ขนาด 30-30
ปืนกระบอกนี้เป็นปืนไรเฟิลขนาดเบา หัวกระสุนน้ำหนัก 50 เกรน มีความเร็วประมาณ 220 ฟิตต่อนาที และให้พลังงานเพียง 1612 ฟุต-ปอนด์


3.2 วินเชสเตอร์โมเดิล 70 ขนาด .270
ปืนวินเชสเตอร์โมเดิล 70 ขนาด .270 เป็นปืนติดกล้องเล็งสี่ท่า กระสุนขนาด .270 มีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 90 เกรน เพื่อยิงสัตว์รบกวนพืชไร่ จนถึง 150 เกรน เพื่อใช้กับสัตว์ขนาดกวาง


4. ปืนสำหรับล่าสัตว์ใหญ่

4.1 ปืนไรเฟิลแฝดขนาด .600 ไนโตรเอ็กเปรส
เป็นปืนขนาดหนักที่สุดในโลก เชื่อกันว่าปืนขนาด .600 นี้มีเพียง 75 กระบอก นอกจากปืนประจำมือพรานอาชีพในอัฟริกาไม่กี่คนแล้ว ส่วนใหญ่ถูกผลิตขึ้นตามออเดอร์จากสุลต่านแห่งอินเดียและเจ้าชายแห่งยุโรปที่โปรดปรานการล่าสัตว์ ราคาของมันสูงมาก คำว่า "ไนโตร" นั้น มาจากชื่อเรียกของดินปืนควันน้อย ส่วนคำว่า "เอ็กเปรส" มาจาก Express Train ที่ให้ความหมายถึงความเร็ว มักจะใช้เรียกปืนไรเฟิล

4.2 ปืนวินเชสเตอร์โมเดิล 70 ขนาด .375 เอชแอนด์เอช แม็กนั่ม
ปืนวินเชสเตอร์โมเดิล 70 ขนาด .75 เอชแอนด์เอช แม็กนั่ม เป็นปืนที่ให้แรงปะทะสูง ซึ่งนับว่าแรงเกินพอสำหรับแบกเข้าป่าในเมืองไทย ปืนไรเฟิลโมเดิล 70 เป็นปืนลูกเลื่อนของวินเชสเตอร์ และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว กลายเป็นมาตรฐานของปืนไรเฟิลลูกเลื่อนของอเมริกัน กระสุน .375 เอชแอนด์เอช แม็กนั่ม ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทฮอลแลนด์แอนด์ฮอลแลนด์ แห่งประเทศอังกฤษ กล่าวกันว่ามันคือกระสุนทั่วไปที่ดีที่สุด เพราะสามารถใช้ได้กว้างขวางทั้งสัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่


4.3 ปืน .375 เอฟเอ็น
ปืน FN เป็นปืนที่นิยมอยู่ไม่น้อยในเมืองไทย FN ย่อมาจาก Fabrique Nationale ซึ่งเป็นโรงงานผลิตปืนเก่าแก่ในเบลเยี่ยม ปืนรุ่นนี้เป็นปืนไรเฟิลที่ใช้ระบบลูกเลื่อนหัวกระสุน มีน้ำหนักตั้งแต่ 200 เกรน ถึง 350 เกรน ให้แรงปะทะสูง นับว่าแรงเกินพอสำหรับเข้าป่าในเมืองไทย









วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการยิงปืนพกขั้นพื้นฐาน







เทคนิคการยิงปืนพก ประกอบด้วย
1.ท่าทาง ( STANCE )
2.การจับปืน ( GRIP )
3.การจัดศูนย์ ( SIGHT ALLIGEMENT )
4.การเล็ง ( SIGHT PICTURE )
5.การควบคุมลมหายใจ ( BREATHING CONTROL )
6.การลั่นไก ( TRIGGER CONTROL )
7.การเล็งตาม ( FOLLOW  THROUGH )




ท่าทาง ( STANCE )

- ยืนตัวตรงกับเป้า  เท้าแยกพอประมาณ ( ประมาณเสมอไหล่ )
- นน.ตัวอยู่ระหว่างกลางของเท้าทั้งสองข้าง ขาเหยียดตึง
- ล็อกเข่า เอว ไหล่ คอตั้งตรง ตามองที่เป้า















การจับปืน( GRIP )

- จับให้สูงใกล้แนวลำกล้องมากที่สุด เพื่อลดแรงสะท้อนถอยหลัง
- จับปืนให้กระชับให้แนวลำกล้องอยู่ใกล้แนวแขนมากที่สุด
- จัดวางนิ้วชี้ให้พอดีกับตำแหน่งที่เหนี่ยวไก
- ออกแรงบีบหน้าด้ามปืน ส่งแรงผ่านอุ้งมือ แล้วอัดเข้ากับข้อมือ มือที่ไม่ถนัดนำมาประกบ ล็อกข้อมือ










การจัดศูนย์( SIGHT ALLIGEMENT )

 - จับปืนชี้ลงพื้นประมาณ 45 องศา แขนเหยียดตึง
 - จัดศูนย์พอดีแล้วล็อกไว้
 - เงยหน้ามองหาเป้า จะเกิดแนวเส้นเล็ง ตา – เป้า
 - ยกปืนขึ้นสู่แนวเส้นเล็ง จะเกิดภาพ ตา – ศูนย์หลัง - ศูนย์หน้า - เป้า
 - ถ้าไม่ตรง ให้จับปืนใหม่ หรือขยับตัวทางข้าง เข้า –ออกจนตรงพอดี ถ้าทำไม่ได้ให้กลับไปทำข้อ 1 ใหม่




การเล็ง( SIGHT PICTURE )

- ต้องมีสมาธิดี
- ปรับสายตาให้มองเห็นศูนย์ให้ชัด ( ศูนย์พอดี )
- ปรับสายตาผ่านศูนย์ให้เห็นเป้า หาจุดเล็ง
- ทำตามข้อ 2-3 สลับไป สลับมาหลาย ๆ ครั้ง เพื่อ
- ควบคุมภาพเล็งให้สมบูรณ์ตลอดเวลา และจะทำให้เกิดสมาธิ จิตมุ่งที่ภาพเล็ง จะรู้การเคลื่อนไหวของภาพเล็งและเป้า




การควบคุมลมหายใจ( BREATHING CONTROL ) เพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ให้ได้ภาพเล็งที่นิ่งที่สุด ปฏิบัติดังนี้

- หายใจเข้า 100 % แล้วผ่อนออก 20 %
 - กลั้นหายใจไว้ประมาณ 6 - 10 วินาที




การลั่นไก( TRIGGER CONTROL )

- ออกแรงเหนี่ยวไกอย่างสม่ำเสมอจนกว่ากระสุนจะลั่น
- ถ้าลั่นไกไม่ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วให้ยกเลิก
- กลับมาเริ่มต้นใหม่







การเล็งตาม( FOLLOW THROUGH )

- เล็งตามทุกครั้งที่ทำการลั่นไก
- เพื่อให้มั่นใจว่าเกิดภาพเล็งที่สมบูรณ์ตลอดเวลา
- เพื่อให้ภาพเล็งในนัดต่อไปกลับมาอย่างเร็ว